Ludwig-van-Beethoven

ประวัติของ Ludwig van Beethoven กวีชาวเยอรมัน

Ludwig van Beethoven เกิดวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 เขาเป็นทั้งคีตกวีชาวเยอรมัน มีชื่อเสียงระดับโลก Beethoven เสียชีวิตวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1827

Ludwig van Beethoven คีตกวียอดอัจฉริยะ

Ludwig van Beethoven จัดเป็นศิลปินยุคจินตนิยม ผู้โดดเดี่ยว เพราะผู้คนในสมัยนั้นไม่ค่อยเข้าใจเขามากนัก หากแต่ในปัจจุบันนี้ เขา คือ คีตกวีชั้นครูที่มีผู้คนชื่นชมและยกย่องที่สุดคนหนึ่งของโลก ชีวิตของเขาเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนามนานัปการที่ต้องฝ่าฟัน ก่อให้เกิดความเครียดสะสมในใจเขามากมาย โดยคุณจะเห็นว่า ในรูปภาพต่างๆ ของ Beethoven เขามักแสดงสีหน้าเครียด หากแต่ด้วยจิตใจอันเข้มแข็งของเขา ทำให้เขาสามารถทลายอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตของเขาได้

Ludwig van Beethoven ตำนานที่หลายๆ คนให้การยกย่อง

เขาคือตำนานผู้คงอยู่ชั่วนิรันดร์ เพราได้รับการยกย่องจากคีตกวีรวมทั้งผู้ฟังทั้งหลาย Beethoven ได้กลายมาเป็นแบบอย่างของพวกเขา เพราะเขา คือ อัจฉริยะตัวจริง โดยบทเพลง Symphony ของเขา โดยเฉพาะ Symphonyหมายเลข 5 , หมายเลข 6 , หมายเลข 7 , หมายเลข 9 และ Concerto โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Concerto หมายเลข 4 และหมายเลข 5 ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

Ludwig-van-Beethoven-

ผลงาน Symphony ของ Beethoven

Beethoven ได้ประพันธ์ Symphony ไว้เพียง 9 บทเท่านั้น โดย Symphony ทั้ง 9 บทของ Beethoven นั้น ทุกบทต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดย Symphony 2 บทแรกของ Beethoven ได้รับแรงบันดาลใจมาจากดนตรีในยุค Classic โดย Symphony หมายเลข 3 ของเขา ได้กลายมาเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ในการเรียบเรียงวง Orchestra โดย Symphony บทนี้ แสดงให้เห็นถึงก้าวหน้ามากกว่าบทก่อนหน้า มีความโดดเด่นด้วยการเรียบเรียงเสียงประสานของวง Orchestra เพียงแค่ท่อนแรกก็มีความยาวกว่า Symphony บทอื่นๆ โดยผลงานชิ้นนี้ได้ส่งให้ Beethoven ขึ้นสู่ตำแหน่งสถาปนิกทางดนตรีระดับแนวหน้า

ถึงแม้ว่าบทเพลงนี้เป็น Symphony ที่มีความสั้นกว่า Classic กว่า Symphony ก่อนหน้า หากแต่ด้วยท่วงทำนองของท่อนโหมโรง ก็ทำให้ Symphony หมายเลข 4 กลายมาเป็นส่วนสำคัญอีกประการ ในการเปลี่ยนแปลงทางรูปแบบดนตรี ของ Beethoven หลังจากนั้นก็ตามมาด้วย Symphony อันสุดตะการตา 2 บท ซึ่งถูกเขียนขึ้นในคืนเดียวกันนั้นเอง ได้แก่ Symphony หมายเลข 5 และ Symphony หมายเลข 6 นอกจากนี้เขายังนำเสนอทำนองหลักของโน้ตทั้ง 4 ตัวกลับมาใช้ตลอดทั้งเพลง ส่วน Symphony หมายเลข 6 เป็นบทเพลงที่ชวนให้นึกถึงธรรมชาติอันแสนบริสุทธิ์ ที่ Beethoven รักมาก มอบอารมณ์อันเงียบสงบชวนฝันให้แก้ผู้ฟัง เมื่อได้ฟัง Symphony บทนี้แล้ว ก็ยังประกอบไปด้วยท่อนอันแสดงให้เห็นถึงพายุโหมกระหน่ำ โดยท่วงทำนองของบทเพลงยังสามารถแสดงออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วย

You may also like...